การจะสร้างแบรนด์อาหารเสริมสักหนึ่งแบรนด์ กว่าจะจ้างบริษัทโรงงานผลิตอาหารเสริมออกมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องผ่านการคิดค้นในส่วนต่างๆ อย่างมากมายให้ผ่านมาตรฐานของ อย. แต่เมื่อผลิตสินค้าออกมาพร้อมจำหน่ายแล้ว ก็จะต้องหาช่องทางที่จะทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากที่สุด ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ทุกแบรนด์ต้องใช้ นั่นก็คือ การโฆษณา
การจะสร้างแบรนด์อาหารเสริมสักหนึ่งแบรนด์ กว่าจะจ้างบริษัทโรงงานผลิตอาหารเสริมออกมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องผ่านการคิดค้นในส่วนต่างๆ อย่างมากมายให้ผ่านมาตรฐานของ อย. แต่เมื่อผลิตสินค้าออกมาพร้อมจำหน่ายแล้ว ก็จะต้องหาช่องทางที่จะทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากที่สุด ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ทุกแบรนด์ต้องใช้ นั่นก็คือ การโฆษณา
สำหรับ “การโฆษณาอาหาร” หมายความถึง การกระทำด้วยวิธีการใดๆ ให้ประชาชนเห็น หรือทราบข้อความเกี่ยวกับอาหาร ส่วนประกอบของอาหาร เพื่อประโยชน์ในทางการค้า โดยประกาศใหม่นั้น มุ่งเน้นให้ การโฆษณาอาหารต้องไม่ใช้ข้อความในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม การโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารต้องไม่มีลักษณะที่เป็นเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร
ซึ่งล่าสุดจากประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ.2564 ถูกประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา
หลักการก็คือ เพื่อให้การโฆษณาอาหารมีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความชัดเจน และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 40 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวง ให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร และมาตรา 41 ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงโฆษณาได้
คำและข้อความในการโฆษณานั้น สิ่งที่ควรต้องระวังนั่นก็คือ การโฆษณาเกินจริง จะเห็นได้จากข่าวที่แบรนด์อาหารเสริม เครื่องสำอางหลายเคสที่โดนจับ เพราะใช้ “คำโฆษณาเกินจริง” อวดอ้างสรรพคุณที่ไม่ตรงกับฉลาก ดังนั้นเวลาที่แบรนด์จะทำการโฆษณาสินค้าสักอย่างหนึ่ง ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าคำโฆษณาที่เราจะใช้ มีคำต้องห้ามหรือไม่ ซึ่งในวันนี้ทางพรีมาแคร์ ได้รวบรวมคำโฆษณาต้องห้ามมาให้ดูกันว่ามีคำไหนบ้างที่ห้ามใช้!! มาดูตัวอย่างกันค่ะ
– ศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ ปาฏิหาริย์วิเศษ
– เลิศที่สุด ดีเลิศ ชนะเลิศ ชั้นเลิศ เลิศเลอ ล้ำเลิศ เลิศล้ำ
– ยอด ยอดเยี่ยม ยอดไปเลย เยี่ยมยอด เยี่ยมไปเลย สุดยอด
– ที่หนึ่ง หนึ่งเดียว ที่หนึ่งเลย
– ที่สุด ดีที่สุด ดีเด็ด สูงสุด
– เด็ดขาด หายห่วง หายขาด หมดกังวล
– สุดเหวี่ยง
– ไม่มีผลข้างเคียง ไร้ผลข้างเคียง
– อย. รับรอง ปลอดภัย
– เห็นผลเร็ว
2.1 ข้อความที่สื่อแสดงสรรพคุณอันทำให้เข้าใจว่าสามารถบําบัด บรรเทา รักษา ป้องกัน โรคหรืออาการ
ของโรคหรือความเจ็บป่วย เช่น
– ลดโคเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด
– ป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง เนื้องอก โรคเบาหวาน หลอดเลือดแข็งตัว ภูมิแพ้หอบหืด
– บรรเทาอาการปวดหัว ไมเกรน อาการชา บวมและเส้นเลือดขอด
– แก้ปัญหาปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติอาการตกขาว
– ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
– ป้องกันหรือต่อต้านเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไข้หวัด แบคทีเรีย เป็นต้น
– รักษาโรคติดเชื้อ
– เพิ่มความจํา แก้อาการหลงลืม ความจําเสื่อม รักษาโรคอัลไซเมอร์
– รักษาอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ
– รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ไขมันพอกตับ
– รักษาโรคไตเสื่อม นิ่วในไต
– รักษาโรคเกาต์รูมาตอยด์เอสแอลอี
– บรรเทาอาการข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ
– รักษาโรคต้อ วุ้นในตาเสื่อม กระจกตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้ง เคืองตา แสบตา
– บรรเทาอาการหูอื้อ ฟื้นฟูการได้ยิน
– รักษาโรคริดสีดวงทวาร กรดไหลย้อน
– รักษาโรคปอดอักเสบ วัณโรค หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง
– รักษาโรคผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน
2.2 ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย หน้าที่อวัยวะ หรือระบบ
การทำงานของร่างกาย เช่น
– ปรับสมดุลให้ร่างกาย ฟื้นฟูร่างกายหรืออวัยวะ
– เพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนม
– เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
– บํารุงสมอง บํารุงประสาท บํารุงตับ บํารุงไต บํารุงสายตา หรือบํารุงอวัยวะของร่างกาย
– เสริมสร้างหรือกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพิ่มภูมิต้านทาน
– Detox/ ล้างสารพิษ ล้างลําไส้
– ปรับสายตาสั้น-ยาว ให้เป็นปกติ
– ขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ลดอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ
– กรอบหน้าชัดเหนียงหาย หน้ายก หน้าเรียว หนังตาตกเป็นตาสองชั้น รอยขมวดคิ้วหาย รองแก้มตื้น
จมูกเข้ารูป
2.3 ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณบํารุงกาม บํารุงเพศ หรือเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์เช่น
– ช่วยบํารุงและเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ เสริมสร้างศักยภาพทางเพศ
– เพิ่มสมรรถภาพท่านชาย/ หญิง เพิ่มความต้องการทางเพศชาย/ หญิง
– อาหารเสริมสำหรับ ชาย/ หญิง
– เพิ่มฮอร์โมนเพศ
– เพิ่มประสิทธิภาพน้ำอสุจิให้แข็งแรง
– เพิ่มขนาดอวัยวะเพศ ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้นาน
– ลดอาการหลั่งเร็ว
– เพิ่มขนาดหน้าอก อัพไซส์
– กระชับช่องคลอด
– ปลุกความเป็นชาย ปลุกเซ็กส์อึด ถึก ทน ปลุกไวฟื้นง่าย
– กระตุ้นความเป็นหญิง
– คืนความเป็นหนุ่ม คืนความสาว
2.4 ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณเพื่อบํารุงผิวพรรณและความสวยงาม เช่น
– ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น ลดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ
– ผิวขาว กระจ่าง ใส นุ่ม เด้ง เปล่งปลั่ง ออร่า
– กระชับรูขุมขน/ ฟื้นฟูผิว
– ลดริ้วรอย/ ลดความมันบนใบหน้า
– ยกกระชับผิวหน้า
– ชะลอความแก่ดูอ่อนกว่าวัย
– แก้ผมร่วง ผมหงอก
– ช่วยให้ผมและเล็บแข็งแรง
– กันแดด ท้าแดด
– ช่วยดับกลิ่นตัว กลิ่นปาก
2.5 ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณในการลดน้ำหนัก ลดความอ้วนหรือข้อความอื่นใดในทํานอง
เดียวกัน เช่น
– ลดความอ้วน
– ช่วยให้ระบายท้อง
– สลายไขมันที่สะสมในร่างกาย ดักจับไขมัน ลดไขมันส่วนเกิน
– ลดน้ำหนัก
– Block/ Burn/ Build /Break/ Firm
– การใช้ภาพสายวัด/ เครื่องชั่งน้ำหนัก/ กางเกง Over Size
– ภาพ Before/ After
– Weight Loss
– เพรียว สลิม Slim Slen
– ไม่โยโย่
– กระชับสัดส่วน ลดต้นแขน ลดต้นขา ลดหน้าท้อง พุงหาย ช่วยให้แขนขาเรียว
– หุ่นดีหุ่นสวย หุ่นเป๊ะ
– ผอม ผอมเร่งด่วน ลดน้ำหนักถาวร
– ลดยาก/ ดื้อยา/ ลดความอยากอาหาร
สรุปได้ว่า การสร้างแบรนด์ให้น่าเชื่อถือนั้น ไม่จำเป็นต้องโฆษณาเกินจริงก็สามารถทำได้ การโฆษณาด้วยความจริงใจ ตรงไปตรงมากับผู้บริโภค ย่อมให้ผลลัพธ์ที่ดีสร้างความน่าเชื่อถืออย่างยั่งยืนได้มากกว่าการเผยแพร่ข้อมูลสินค้าเกินจริง อวดอ้างเกินจริง เพราะนอกจากไม่ช่วยสร้างชื่อเสียง แต่จะเป็นการสร้างชื่อเสียให้กับแบรนด์ของคุณแทน ฉะนั้นผู้ที่กำลังจะสร้างแบรนด์ อาหารเสริม เครื่องสำอาง ครีม ต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมายค่ะ
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถ download รายละเอียดเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร
ข้อมูลที่มา : ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564 ฉบับวันที่ 30 มีนาคม 2564