จะทำสินค้ากลุ่มไหนดี ถ้าเราติดตามสถานกรณ์ประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าเราต้องเผชิญกับ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จาก มลภาวะทางกาศ ที่ส่งกระทบด้านต่างๆ ทั้งทางด้านสุขภาพและผิวพรรณ
หากคิดอยากจะผลิตอาหารเสริมเป็นแบรนด์ของตัวเอง จะทำสินค้ากลุ่มไหนดี ถ้าเราติดตามสถานกรณ์ประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าเราต้องเผชิญกับ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จาก มลภาวะทางกาศ ที่ส่งกระทบด้านต่างๆ ทั้งทางด้านสุขภาพและผิวพรรณ (อ่านลิงค์) PM2.5 ส่งผลต่อผิวอย่างไร แถมตลอด 1 ปีที่ผ่านมายังโดนซ้ำเติมด้วยปัญหาการแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทั้งสองปัจจัยล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบ
เพราะฝุ่นPM 2.5 เมื่อสูดดมเข้าสู่ร่างกายจะเข้าได้ลึกถึงปอดกระทบต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ผู้ที่ป่วยอยู่แล้วอาจจะมีอาการรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากเมื่อฝุ่นเข้าสู่ร่างกายแล้วก่อทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์ที่สัมผัสเกิดการอักเสบ และเป็นแผลเป็น หากเป็นเยอะและร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ทัน จะทำให้การไหลเวียนของเลือด การแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดไม่ดี ส่วนเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ที่เป็นต้นเหตุของโรค โควิด-19 นั้น เชื้อนี้จะแพร่กระจายได้ จากการสูดดมละอองในอากาศที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ (Air-borne transmission) เข้าไป ซึ่งความรุณแรงของการป่วย ก็จะขึ้นอยู่กับว่าจำนวนเชื้อไวรัสที่ได้รับเข้าไปสู่ร่างกายนั้นว่า มีมากเท่าไหร่ และความลึกที่เชื้อเข้าไปในปอดมากแค่ไหน เมื่อผนวกรวมกับในสภาพอากาศที่มีละอองฝอยขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 อยู่ด้วย โอกาสที่เชื้อไวรัสเข้าไปจับและเข้าสู่ปอดได้ลึกขึ้น ยิ่งได้รับเชื้อมาก ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสทำให้ปอดอักเสบมาก เชื้อที่ถุงลมจะทำให้ปอดมีการอุดกั้น ผลตามมาคือภาวะการทำงานของปอด เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้น้อยลงการหายใจที่ผิดปกติ ส่งผลให้กระแสเลือดและร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนอย่างที่ควรจะเป็น ยิ่งถ้าประกอบกับอยู่ในสภาวะที่ภูมิต้านทานของร่างกาย ที่ไม่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ หรือในสภาวะร่างกายเจ็บป่วย ได้รับยาต้านมะเร็ง หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องปอดอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้เสี่ยงอันตรายต่อการเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน จนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
ดังนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการปกป้องความเสี่ยงลดอัตราการตาย เมื่อได้รับเชื้อไวรัส ในคนที่มีระบบภูมิต้านทานโรคที่ดี ร่างกายจะสามารถทนต่อการติดเชื้อได้ ไม่เจ็บป่วยรุนแรง และรอร่างกายให้จดจำและสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อทำลายเชื้อ และฟื้นฟูร่างกายได้ทัน ซึ่งวิธีการที่จะสร้างภูมิต้านทานได้รวดเร็ว และเป็นความหวังเดียวในตอนนี้ คือ การได้รับวัคซีน แต่ เนื่องจากความต้องการวัคซีนที่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนวัคซีนที่ยังไม่เพียงพอ
การป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อย่างที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำคือ หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน การล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้าข้นตั้งแต่ 70 % V/V ขึ้นไป (link ไปสินค้า) รวมถึง เสริมประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน ด้วยออกกำลังกายเป็นประจำ การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หรือ นอกจากนี้เสริมด้วยวิตามินและสารอาหาร หรืออาหารเสริมบางอย่าง ที่มีคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ในระหว่างรอรับวัคซีนจึงเป็นอาจประโยชน์ ในการดูแลตัวเองเบื้องต้น ซึ่ง ปัจจุบันมี มีการสารอาหารหลายอย่างที่ ที่มีข้อมูลว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันและปกป้องปอดของเราได้ ได้แก่
มีปรากฎในตำราอายุรเวทไทยใช้กระเทียมเป็นยาบำรุงร่างกาย กินเป็นยาแก้อักเสบในอก ในปอด แก้เสมหะ แก้หืดหอบ แก้ไอให้เสมหะแห้ง บำรุงปอด
ในกระเทียม มีสารสำคัญคือ สารอัลลิซิน (Allicin)มี ฤทธิ์ลดการอักเสบ ป้องกันการหลั่งสาร cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว macrophage ในการจับกินเชื้อแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ยังพบสาร ajoene ในกระเทียมช่วยเพิ่ม antibodiesชนิดimmunoglobulin A (IgA) ซึ่งเป็นด่านแรกของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่จะช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่เข้ามาในร่างกาย โดยพบมากที่ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร ตามเยื่อเมือกต่างๆ การศึกษาในหลอดทดลอง พบว่า สาร allicin มีผลยับยั้ง เชื้อไวรัสที่ทำให้หลอดลมอักเสบ (Infectious bronchitis virus : IBV) ในตัวอ่อนไก ซึ่งเปนไวรัสชนิดมีเปลือก หุ้มตระกูลโคโรนา และป้องกันการอักเสบจากแบคที่เรียที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อที่ปอด
จากการศึกษาพบว่า สารสกัดของกระเทียมมีผลเพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกัน โดยการกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกัน macrophage, lymphocyte, NK cell, dendrite cell และeosinophil ให้เพิ่มจำนวนและหรือทำงานได้ดีขึ้น มีรายงานการศึกษาพบว่า การกินผลิตภัณฑ์เสริม อาหารจากกระเทียมวันละ 1 แคปซูล (มีปริมาณ allicin 180 มิลลิกรัม) ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีจำนวนครั้งที่เป็นหวัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สมุนไพรขิงมีคุณสมบัติคือฤทธิ์เผ็ดร้อน ช่วยบำรุงระบบทางเดินหายใจ ในตำราแพทยืแผนไทยมีสรรพคุณ ช่วยขับเสมหะ ช่วยระบบการไหลเวียนโลหิต และยังข้อมูลเป็นตัวช่วย เสริมการรรักษา โดยลดการอักเสบของปอดในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ช่วยให้เกิดการขยายหลอดลมในผู้ป่วยโรคหืดได้
ขมิ้นชัน มีสารสำคัญ ที่ชื่อว่า เคอร์คิวมิน (curcumin ) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ช่วยในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารและมีฤทธิ์ลดการอักเสบจึงสามารถใช้เสริมประสิทธิภาพในการรักษาการอักเสบของข้อเข่า นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่า สารเคอร์คูมินช่วยบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินหายใจและอาการแน่นหน้าอกซึ่งสัมพันธ์กับกับโรคหอบหืด และขมิ้นชันสามารถลดสารพิษหรือลดการอักเสบในปอดได้ จากการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจะมีชุมชนคนอินเดียอยู่ จะมีการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2,700 คน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่สูบบุหรี่ ให้รับประทานขมิ้นชันพบว่า สมรรถภาพปอดดีเท่ากับคนที่ไม่สูบบุหรี่
เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วย กรดไขมันโอเมก้า 3 และVitamin D มีรายงานที่น่าสนใจพบว่า การได้รับOmega3 และวิตามินดีอย่างเพียงพอ อาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอดและหลอดลม ลดอาการกำเริบในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคหอบหืด และภาวะปอดเรื้อรังอื่น ๆ และเพิ่มความสามารถในการหายใจ
วิตามินดี ยังมีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ImmuneSystem) เนื่องจาก นักวิจัยมีการค้นพบ Vitamin D Receptor หรือตัวรับที่จับกับวิตามินดีบน T cell และ B cell ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่หน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาคุกคามร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส จึงช่วยเสริมประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันในการป้องกันแบคที่เรียและไวรัสได้
ในฐานะ โรงงานรับผลิตอาหารเสริม ที่แบรนด์ชั้นนำวางใจ เรามีวัตถุดิบคุณภาพหลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือก สำหรับเจ้าของแบรนด์ที่สนใจผลิต อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ สำหรับทุกช่วงวัย สามารถปรึกษาการพัฒนาสูตร RD เภสัชกรที่ที่เชี่ยวชาญ ได้นะคะ
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3559187/
https://omegaquant.com/new-evidence-shows-omega-3-dha-may-protect-the-lungs/
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=8
https://lunginstitute.com/blog/is-ginger-good-for-people-with-copd/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2706673/
https://lunginstitute.com/blog/how-can-fish-oil-benefit-chronic-lung-disease-patients/