คำถามนี้เกิดจากการที่ PS ได้ไปร่วมสัมนาว่าด้วยเรื่อง “นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ เครื่องมือในการแข่งขันธุรกิจ” ที่จัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งชาติเมื่อเดือนที่แล้วมา ได้ไอเดียใหม่ๆเยอะเลยล่ะค่ะ และจุดไคลแมกซ์ที่ได้กลับมาคือ ตอนนี้กลยุทธ์การตลาดเรื่อง 4P ที่เราคุ้นๆกัน (จริงๆตอนนี้มันไปหลาย P ล่ะ) เค้าเพิ่ม P ตัวที่ 5 นั่นก็คือ P Packaging เข้ามา เพราะถือว่า P นี้ก็เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการทำธุรกิจเหมือนกัน
พูดถึงเรื่องแพกเกจจิ้ง ก็ลิงค์เข้าไปที่คำถาม หลายๆคนคงพอเดาออกแล้วว่าจุดแรกที่เราขายสินค้าแล้วคนจะเห็นนั่นก็คือหน้าตาของผลิตภัณฑ์ การห่อหุ้ม รูปแบบต่างๆที่เป็นส่วนภายนอก ทำให้ดึงดูดคนเข้ามาสนใจ เจ้าของแบรนด์บางท่านไม่ให้ความสำคัญกับตรงนี้มากนัก เพราะคิดว่าแค่ของข้างในมันดี การตลาดเจ๋งทุกอย่างก็ขายได้ ฮัลโหลล ลืมเรื่อง first impression ไปรึเปล่า! (แบรนด์แป้งชื่อไทยเจ้านึงที่เพิ่งเปลี่ยนแพกเกจจิ้งไปเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับเคสนี้เลยล่ะ)
ส่วนในแง่ของการผลิตแพกเกจจิ้งกลับเป็นงานสุดท้ายใน line production ซึ่งเจ้าของแบรนด์ต้องประสานและตามงานกับ supplier เพื่อให้สินค้าออกมาสำเร็จลุล่วงเป็นไปด้วยดี บางท่านออกแบบ ยืนยันแบบ จ่ายเงินเรียบร้อย แต่ปรากฎงานจริงที่ออกมาสีล่อน กระดาษยับ พอส่งเข้าโรงงานเพื่อประกอบสินค้า กลายเป็นปัญหาที่คาราคาซัง สินค้าออกได้ไม่ตรงตาม dead line และปัญหาอื่นๆตามมา
เพราะฉะนั้นความสำคัญของ P Packaging ที่เราสรุปกันมาให้มีดังนี้ค่ะ
1. บรรจุภัณฑ์คือตัวเชื่อมระหว่างการผลิตและการตลาด: การออกแบบต้องสอดคล้องกันทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายการตลาด บางครั้งฝ่ายการตลาดคิดว่าออกแบบอย่างนี้ดีมาก แตกต่าง ปังแน่ๆ แต่พอมองในแง่การผลิต งานประกอบทำยากมาก ขนย้ายเปลืองพื้นที่ หรืออื่นๆ ซึ่งเจ้าของแบรนด์ต้องลองชั่งน้ำหนักดูค่ะ
2. บรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความได้เปรียบทั้งการผลิตและการตลาด: อ้างอิงจากข้อข้างบน สิ่งที่ออกไปถ้ามันเวิคและสมดุลกันทั้งการผลิตและการตลาด จุดนี้ก็คือความได้เปรียบในการแข่งขันของแบรนด์
3. บรรจุภัณฑ์เปรียบเหมือนเซลล์เงียบ: คือไม่ต้องพูดอะไรมาก แค่เห็นก็รู้แล้วว่าปัง และคนก็พร้อมจะควักเงินซื้อ เพราะยอมรับมาเหอะว่าของบางชิ้นคุณซื้อเพราะแพกเกจมันน่ารัก
4. บรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุวงจรสินค้า: ว่าด้วยเรื่องวงจรสินค้า จะมีช่วงเริ่มเข้าตลาด ติดตลาด ขาลง และหายไปจากท้องตลาด เมื่อไหร่ก็ตามที่เข้าช่วงเริ่มจะขาลง หลายๆแบรนด์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดให้สินค้ายังคงติดตลาดอยู่ (สังเกตหรือเปล่าแบรนด์ Mass พวกแชมพู ครีมอาบน้ำงี้ เปลี่ยนบ่อยมาก)
5. ปริมาณการผลิตสัมพันธ์กับความยูนีคของบรรจุภัณฑ์: หมายถึงว่าหากคุณวางแผนการออกสินค้าที่มี Volume จำนวนมากพอ แบรนด์ของคุณก็จะได้บรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปใหม่เฉพาะแบบ ทำให้คนจดจำลักษณะของบรรจุภัณฑ์ได้ว่าถ้าเห็นยังงี้คือแบรนด์นี้เท่านั้น แต่ความยูนีคก็มาพร้อมกับปริมาณและราคาต่อชิ้นที่ต้องมาทำการตัดสินใจว่าจะเลือกอย่างใด
เรื่องบรรจุภัณฑ์เหมือนจะไม่สำคัญ แต่จริงๆแล้วก็สำคัญมากเหมือนกันนะคะ เป็นส่วนที่ต้องคำนึงถึงเลยแหละจากการฟังสัมนามีหลาย topic ที่เค้ากล่าวถึงเช่น ต้นทุนการขนส่งกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์/เทรนด์การออกแบบกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และอื่นๆ ไว้โอกาสหน้า PS มาเล่าให้ฟังกันอีกนะคะ
ปรึกษาเรื่องการผลิตครีม การผลิตเครื่องสำอาง และการผลิตอาหารเสริมได้ที่ พรีมา แคร์ เป็นโรงงานรับผลิตครีม เครื่องสำอางและอาหารเสริมที่มีคุณภาพและชำนาญการ เรามีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา ในทุกความต้องการที่คุณคาดหวังค่ะ
Product Specialist (PS)
At Premacare International Co.Ltd.
www.pixabay.com
อัปเดต 10 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ครีม ทำแบรนด์ครีม ผลิตครีมแบรนด์ตัวเอง เครื่องสำอาง สกินแคร์ของตัวเอง โดยพรีมา แคร์ โรงงานรับผลิตได้มาตรฐาน
อยากกินคอลลาเจนผงชงดื่มให้ได้ผลดีที่สุด ต้องกินยังไง? พรีมา แคร์ มีคำตอบ! อธิบายแบบเข้าใจง่าย ครบทุกขั้นตอน กับ 8 วิธีกินคอลลาเจนผงชงดื่มให้ได้ผลสูงสุด
สร้างทำแบรนด์ครีม เวชสำอาง เครื่องสำอาง อาหารเสริม การตั้งชื่อแบรนด์สินค้าเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ รวบรวมเทคนิคตั้งชื่อแบรนด์ให้โดนใจ จดจำง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่
อยากลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย? รู้ไว้ก่อนใช้ยาลดความอ้วน อันตรายกว่าที่คิด เพราะมีสารอันตรายในยาลดความอ้วน มีโทษมากมาย ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
รับรองคุณภาพตามมาตรฐานโรงงาน
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
- 9th SME National Award - รางวัลระดับสุดยอด SME
- 10th SME National Award - รางวัลระดับสุดยอด SME
- รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น(ขนาดกลางและขนาดย่อม) ประเภทการบริหารจัดการ ปี พ.ศ. 2561
- รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น(ขนาดกลางและขนาดย่อม) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2561
- สุดยอด SME ประจำจังหวัดนนทบุรี SME Provincial Champion 2018
- The Social Security Officer SSO Prize 2020