‘การสกัด’ (ในที่นี่เน้นเป็นสารสกัดจากพืชนะคะ) เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในหลายๆขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งสารประกอบเครื่องสำอางดังภาพ เพราะคุณต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพืช เตรียมตัวอย่าง ตรวจสอบและจิปาถะอื่นๆ โดยวิธีการสกัดนั้นก็แบ่งได้หลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพืชและสิ่งที่อยากจะได้จากพืชนั้น เช่นอยากได้สารสกัดน้ำกุหลาบ อาจจะใช้วิธีการหมัก แต่ถ้าอยากได้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นดอกกุหลาบอาจจะต้องใช้วิธีการกลั่นเป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ถ้าไปเรียนในคลาสวิชาของศาสตร์วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ต้องเรียนกันเป็นเทอมๆเลยทีเดียว แต่ไม่ต้องห่วงเพราะเราคัดวิธีการสกัดที่เด่นๆซึ่งนิยมใช้ในระดับอุตสาหกรรมมาให้ลองอ่านเพื่อทำความเข้าใจกันค่ะ
1.การหมัก (Maceration): วิธีนี้ค่อนข้างจะเทรดดิชั่นนัลนิดนึงโดยเค้าก็จะเอาพืชทั้งสดหรือแห้งก็ได้ที่บดๆแล้ว แล้วใส่เข้าไปในตัวทำละลายที่เหมาะสม (นิยมๆหน่อยก็เอทานอล) ปิดฝาแล้วเขย่าเป็นระยะ โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชแต่ส่วนใหญ่คือ 7 วัน แล้วก็นำมาบีบน้ำออกและกรอง อาจจะนำไปหมักซ้ำจนกว่าจะได้สารสำคัญออกมาให้ได้มากที่สุด (กรรมวิธีคุ้นๆเหมือนการหมักอาหารนั่นแหละค่ะ) แต่ปัจจุบันเพื่อความสะดวก เค้าก็มีเครื่องมือในการกวนเพื่อให้เซลล์พืชแตกมากขึ้น สกัดออกมาได้เร็วขึ้นนั่นเอง
2.การแช่ในคอลัมน์ (Percolation): ลักษณะของเครื่อง Percolator ก็จะเป็นชั้นๆ (นึกภาพเหมือนเครื่องกรองน้ำแบบมีหินมีกรวดไรงี้) โดยบดพืชวางลงไปชั้นนึง เติมตัวทำละลาย แล้วก็รอให้สารสกัดไหลออกมาจากปลายท่อ เหมาะสำหรับเวลาที่อยากได้สารสกัดเข้มข้นแบบเหลว
3.การสกัดด้วย Soxhlet extractor: ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Soxhlet apparatus สกัดด้วยความร้อนให้เกิดการระเหยแล้วกลั่นตัวลงมาเป็นสารสกัด วิธีนี้ดีคือประหยัดตัวทำละลาย แต่อาจจะไม่เหมาะกับพืชที่ไม่ทนความร้อน
4.วิธี Supercritical Fluid Extraction System: เป็นการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ผ่านการปั๊มร่วมกับตัวทำละลาย ข้อดีของวิธีนี้คือเหมาะกับพืชที่เราต้องการองค์ประกอบทีไม่ทนความร้อน
5.การกลั่น (Distillation): แบ่งเป็นกลั่นด้วยน้ำ/น้ำ+ไอน้ำ/ไอน้ำ วิธีการเหล่านี้จะทำให้เกิดน้ำแยกตัวกับน้ำมัน จึงเหมาะกับพืชที่เราต้องการส่วนของน้ำมัน เช่นน้ำมันหอมระเหย แต่ละวิธีของการกลั่นก็เหมาะกับชนิดของพืชที่แตกต่างกัน อย่างการกลั่นด้วยน้ำ เหมาะกับพืชแห้ง และสารทนต่อความร้อน การกลั่นด้วยน้ำบวกไอน้ำ ใช้ได้ทั้งพืชสดและแห้ง ส่วนการกลั่นด้วยไอน้ำเหมาะสำหรับพืชสด
6.การบีบ (Mechanical Expression): เหมาะกับพืชที่ไม่ทนความร้อน และเป็นพืชที่มีถุงน้ำมันอยู่ใต้เปลือกเช่นพวก ผิวส้ม ผิวมะนาว หลักๆของวิธีนี้ก็เพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยจากผิวเปลือก
วิธีการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสกัดนะคะหลักๆก็จะเป็นวิธีพื้นฐาน ซึ่งโดยหลักความเป็นจริงแล้วในสเกลอุตสาหกรรมเค้าก็มีวิธีที่มีมาตรฐานที่เข้มข้นกว่านี้ เพื่อให้การสกัดแต่ละ lot ออกมาเท่ากันอย่างมีคุณภาพ แล้วอย่างปัจจุบันในวงการอุตสาหกรรมการผลิตส่วนประกอบของเครื่องสำอางแต่ละบริษัทต่างก็มีการคิดค้นการสกัดที่แตกต่างกันออกไปเฉพาะตัว เพื่อให้ได้สารที่มีคุณภาพดีและคุ้มทุนในการขาย รวมถึงเป็นจุดเด่นของบริษัทซึ่งบางครั้งก็เป็นความลับทางการค้าไม่ค่อยเปิดเผยกันเท่าไหร่ แต่โดยหลักแล้วก็อิงจากพื้นฐานของการสกัดคือ “เลือกวิธีที่ถูกต้อง กับพืชที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สารมีคุณภาพ ในต้นทุนที่สมเหตุสมผล” นั่นเองค่ะ
ปรึกษาเรื่องการผลิตครีม การผลิตเครื่องสำอางและการผลิตอาหารเสริมได้ที่ พรีมา แคร์ เราเป็นโรงงานรับผลิตครีม เครื่องสำอางและอาหารเสริมที่มีคุณภาพและชำนาญการ มีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา ในทุกความต้องการที่คุณคาดหวังค่ะ
Product Specialist (PS)
At Premacare International Co.Ltd.
เครื่องสำอางธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหนัง, รองศาสตราจารย์พิมพร ลีลาพรพิสิฐ
อัปเดต 10 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ครีม ทำแบรนด์ครีม ผลิตครีมแบรนด์ตัวเอง เครื่องสำอาง สกินแคร์ของตัวเอง โดยพรีมา แคร์ โรงงานรับผลิตได้มาตรฐาน
อยากกินคอลลาเจนผงชงดื่มให้ได้ผลดีที่สุด ต้องกินยังไง? พรีมา แคร์ มีคำตอบ! อธิบายแบบเข้าใจง่าย ครบทุกขั้นตอน กับ 8 วิธีกินคอลลาเจนผงชงดื่มให้ได้ผลสูงสุด
สร้างทำแบรนด์ครีม เวชสำอาง เครื่องสำอาง อาหารเสริม การตั้งชื่อแบรนด์สินค้าเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ รวบรวมเทคนิคตั้งชื่อแบรนด์ให้โดนใจ จดจำง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่
อยากลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย? รู้ไว้ก่อนใช้ยาลดความอ้วน อันตรายกว่าที่คิด เพราะมีสารอันตรายในยาลดความอ้วน มีโทษมากมาย ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
รับรองคุณภาพตามมาตรฐานโรงงาน
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
- 9th SME National Award - รางวัลระดับสุดยอด SME
- 10th SME National Award - รางวัลระดับสุดยอด SME
- รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น(ขนาดกลางและขนาดย่อม) ประเภทการบริหารจัดการ ปี พ.ศ. 2561
- รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น(ขนาดกลางและขนาดย่อม) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2561
- สุดยอด SME ประจำจังหวัดนนทบุรี SME Provincial Champion 2018
- The Social Security Officer SSO Prize 2020