สื่อสิ่งพิมพ์ (ที่อาจจะไม่ได้พิมพ์ก็ได้) ในที่นี้เราหมายถึงพวก โปสเตอร์,โบชัวร์หรืออะไรก็ตามที่จะแสดงรายละเอียดให้คนได้รับรู้ถึงสินค้าหรือบริการของเรา ซึ่งถ้าคุณทำธุรกิจความงามอย่างเครื่องสำอางหรืออาหารเสริม ก็จำเป็นต้องมีเครื่องมือเหล่านี้ไว้ทำการโปรโมตตัวเอง จากประสบการณ์ของพรีมาแคร์ในการทำสื่อสิงพิมพ์ที่ผ่านมาพบว่าเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานแล้ว มีอย่างน้อย 5 สิ่งที่คุณต้องเตรียมถ้าอยากทำสื่อสิ่งพิมพ์โดนๆเผื่อไว้เวลาที่จะทำเองหรือจ้างคนนอกทำให้ นั่นก็คือ
1. วางแผน Concept การใช้งาน
เริ่มแรกต้องคิดก่อนว่าสื่อสิ่งพิมพ์ที่กำลังจะทำนั้น วัตถุประสงค์ของการใช้งานคืออะไร เอาไว้เพื่อโชว์สินค้า หรือเพื่อแสดงรายละเอียดเนื้อหา นำไปโปรโมทในเวป สื่อออนไลน์ หรือตีพิมพ์ออกมา เพราะจะเกี่ยวข้องกับความละเอียดที่จะใช้ในภาพ รวมถึงขนาดภาพเลือกเป็น A4 แนวตั้ง/แนวนอน หรือกว้างคูณยาวกี่พิกเซล
เพราะถ้าคุณไม่กำหนดไว้ก่อนเช่นฝ่ายออกแบบกำหนดความละเอียดแค่พอเอาลงโซเซียลได้ไม่เบลอ พอคุณเห็นภาพเสร็จคุณคิดได้ว่าปริ้นออกมาเป็นแบรคกราวบูทดีกว่า แบบนี้ก็เรียกได้ว่าต้องไปแก้ใหม่ กลายเป็นงานซ้ำซ้อนไปอีก
2. ร่าง them ภาพที่ต้องการ
ตีมภาพจะเป็นตัวกำหนดความอลังของสื่อสิ่งพิมพ์ชิ้นนั้น ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับ positioning ของแบรนด์และลักษณะของสินค้าด้วยนะ เช่นคุณกำหนดว่าแบรนด์ของคุณเน้นหรู ส่วนตัวสินค้าเป็นบำรุงผิวสำหรับคนวัย 40 up ก็ควรจะส่งตีมภาพไปในแนวความเรียบหรูแบบที่กลุ่มลูกค้าเห็นแล้วต้องกรีดร้องเบาๆในใจ
การร่างตีมอาจจะกำหนดโทนสีของภาพไปด้วยหรืออยากให้มีภาพอะไรในตีมภาพนี้บ้างต้องชัดเจน เช่น มีดอกไม้ มีน้ำ มีสัญลักษณ์ต่างๆ เพราะมันจะง่ายต่อฝ่ายออกแบบ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้มาก็จะตรงกับใจเรามากที่สุด
3. ทุกอย่างที่จะใส่ในรูปต้องถูกลิขสิทธิ์
สมัยนี้กฎหมายลิขสิทธิ์เค้าดุเดือดมาก อันนี้เราขอเตือนไว้ก่อนเลย เพราะฉะนั้นหากจะออกแบบสื่อใดๆ ให้แน่ใจว่ารูปที่ใช้ ทั้งนางแบบ ลายเส้น ภาพประกอบ รูปสินค้า ฉากหลัง ทุกอย่างได้มาแบบชอบธรรม สมมติว่าคุณไปจ้างเอเจนซี่นอกทำงานให้คุณ อย่างน้อยต้องมีลายลักษณ์อักษรถึงความถูกต้องของทุกอย่างในสื่อนั้นนะ ซึ่งเรื่องนี้พรีมาแคร์ให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะถ้าโดนจับทีหลังมันไม่คุ้มทั้งชื่อเสียงและเงินที่เสียไปหรอกค่ะ ยอมจ่ายซื้อตั้งแต่แรกจะดีกว่า
4. คำบรรยาย คำโฆษณา ให้ตอบโจทย์สินค้า (Keyword & Content)
คือคำบรรยายพวกนี้จะอิงกับวัตถุประสงค์ของภาพ สมมติสินค้าคือครีมบำรุงผิว ถ้าคุณใช้แค่โปรโมตสินค้า คำบรรยายอาจไม่ต้องมาก น่าจะเป็นการสื่อองค์รวมของสินค้านั้นมากกว่าเพราะเดี๋ยวจะรกไป แต่ถ้าคุณอยากชูจุดเด่นของสาร อยากอธิบายที่ไปที่มาให้คนเข้าใจ ก็ต้องเคลียร์คัทกับฝ่ายออกแบบให้ออกมาในโทนที่สามารถอ่านสื่อสิ่งพิมพ์นั้นได้ง่ายๆ ไม่ตาลาย
อีกอย่างคือ wording ของคำโฆษณา เราอยากรณรงค์ให้ถูกต้องตามหลักอย.ทุกประการ ต้องเป็นคำที่ไม่ดูเป็นการอวดสรรพคุณเกินจริง (สังเกตโปสเตอร์สินค้าพรีมาแคร์เป็นตัวอย่างได้) ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อผลดีต่อแบรนด์คุณเองนะคะ
5. รายละเอียดการติดต่อกลับ
เป็นอะไรทุกคนรู้อยู่แล้วว่ายังไงก็ต้องมี เพื่อที่ว่าลูกค้าเห็นสินค้าปุ๊ป ถ้าสนใจก็จะได้ ติดต่อมาได้เลย มีช่องทางอะไรบ้างใส่ไปให้หมด สิ่งหนึ่งที่เราอยากให้ระวังมากๆเลยคือ ความถูกต้องของรายละเอียดการติดต่อกลับ เคยมีเคสกรณีศึกษาคนใกล้ตัว PS ที่ว่า สื่อ สิ่งพิมพ์ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับหนึ่ง (ราคาค่าโฆษณาต่อปักษ์เป็นเลขหลักหมื่น) คือดูดี เพรียบพร้อมไปทุกอย่างแต่มาตกม้าตายที่เบอร์โทรผิด!! คุณพระ ความซวยตกอยู่สองทาง ทั้งตัวเจ้าของแบรนด์ที่เสียโอกาสลูกค้าและตัวเจ้าของเบอร์ที่ผิดนั้น ดังนั้นก่อนสื่อจะ ออกไปต้องระวังตรงนี้ให้แม่นเลยค่ะ
อย่างถ้าเจ้าของแบรนด์จะให้พรีมา แคร์ฯ ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เช่นโปสเตอร์ให้ รายละเอียดเบื้องต้นที่เราจะคุยกันก็จะเป็นไปตามข้อมูลด้านบน อาจจะมีการซักทีละเอียดยิบย่อยหน่อย แต่เชื่อเถอะว่างานมันก็จะโฟลวได้ง่าย เสร็จไว้ และลดข้อผิดพลาดได้มากขึ้น คุณอาจจะเก็บเทคนิคเหล่านี้ไว้คุยกับฝ่ายออกแบบหรือเอเจนซี่ก็ได้นะคะ รับรองชื่นใจทั้งสองฝ่าย