สร้างแบรนด์สกินแคร์ อยากเคลมสรรพคุณสินค้า ลดการสะสมของแบคทีเรีย ได้ต้องอ่าน
ผู้ประกอบการที่ต้องการ สร้างแบรนด์สกินแคร์ หรือ สนใจผลิตสกินแคร์ ประเภท ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังหรือแอลกอฮอลทำความสะอาดมือ แล้วมีข้อสงสัยว่า สินค้าของเราทำความสะอาดได้ดี ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้จริงต้องดำเนินการอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้ผิดกฎอย. วันนี้พรีมา แคร์มาอัพเดตกฎหมายใหม่ที่ทางอย.ปรับใช้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการลดการสะสมของแบคทีเรีย เพื่อเคลมในผลิตภัณฑ์ค่ะ
ผู้ประกอบการที่ต้องการ สร้างแบรนด์สกินแคร์ หรือ สนใจผลิตสกินแคร์ ประเภท ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังหรือแอลกอฮอลทำความสะอาดมือ แล้วมีข้อสงสัยว่า สินค้าของเราทำความสะอาดได้ดี ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้จริงต้องดำเนินการอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้ผิดกฎอย. วันนี้พรีมา แคร์มาอัพเดตกฎหมายใหม่ที่ทางอย.ปรับใช้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการลดการสะสมของแบคทีเรีย เพื่อเคลมในผลิตภัณฑ์ค่ะ
แบ่งเป็น ใน 1. เครื่องสำอางประเภททำความสะอาดผิวหนังที่ใช้แล้วล้างออกและ 2. เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือเพื่อให้เป็นไปในทางเดียวกันและสอดล้องกับหลักสากล ให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปบรรยายสรรพคุณลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial) บนฉลากเครื่องสำอางได้
ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้จัดทำแนวทางในการทดสอบประสิทธิภาพการลดการสะสมของแบคทีเรียของเครื่องสำอาง เพื่อให้ผู้ประกอบการ ที่กำลัง สร้างแบรนด์สกินแคร์ เป็นแนวทาง ดังนี้
1. ให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐานสากล ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1.1 มาตรฐาน EN 1276:2019 หรือฉบับที่ใหม่กว่า และปรับปรุงให้เหมาะสมกับประเทศไทยดังนี้
- ทดสอบกับแบคทีเรีย 4 ชนิด ดังนี้
- Staphylococcus aureus ATCC 6538
- Escherichia coli K12 NCTC 10538
- Enterococcus hirae ATCC 10541
- Pseudomonas aeruginosa ATCC 15442
- อุณหภูมิการทดสอบ คือ 34+-1 องศาเซลเซียส
- ทดสอบในสภาวะสกปรก (dirty condition) โดยใช้ Bovine Albumin เป็นสารรบกวน
- ระยะเวลาการสัมผัส (contact time) ให้ใช้ 30 หรือ 60 วินาที
- สำหรับเครื่องสำอางประเภททำความสะอาดผิวหนังที่ใช้แล้วล้างออก ผลิตภัณฑ์ทั้งชนิดพร้อมใช้ (ready to use) และชนิดเข้มข้น (concentrated) ต้องเจือจางก่อนการทดสอบตามข้อกำหนดมาตรฐานนี้
- แนวทางการตัดสินผลการทดสอบประสิทธิภาพ คือสามารถลดปริมาณแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิด
- ประเภททำความสะอาดผิวหนังได้มากกว่าหรือเท่ากับ 3 log
- ประเภทแอลกอฮอลเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือได้มากกว่าหรือเท่ากับ 5 log
1.2 มาตรฐาน EN 1499:2013 สำหรับประเภททำความสะอาดผิวหนัง และมาตรฐาน EN 1500:2013 สำหรับประเภทแอลกอฮอลเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ หรือฉบับที่ใหม่กว่า
- ทดสอบโดยใช้แบคทีเรีย 1 ชนิด คือ Escherichia coli K12 NCTC 10538
- ประเภททำความสะอาดผิวหนังทดสอบกับมืออาสาสมัคร 12-15 คน
- ประเภทแอลกอฮอลเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือทดสอบกับปลายนิ้วมือของอาสาสมัคร 18-22 คน
- ขั้นตอนและวิธีทดสอบ ประเภททำความสะอาดผิวหนัง ให้เป็นไปตามที่ระบุใน EN 1499:2013 และประเภทแอลกอฮอลเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ให้เป็นไปตามที่ระบุใน EN 1500:2013 กำหนดให้
- ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทดสอบ และระยะเวลาสัมผัสตามที่ระบุในฉลากแต่ต้องไม่น้อยกว่า 30 วินาทีและไม่มากกว่า 60 วินาที
- สบู่อ้างอิงสำหรับประเภททำความสะอาดผิวหนัง ให้ใช้สบู่เหลวชนิด non-medicated หรือ soft soap ที่มีการเตรียมและควบคุมคุณภาพตามที่ระบุใน EN 1499:2013 ปริมาณสบู่อ้างอิงที่ใช้ทดสอบ ให้ปฏิบัติตาม EN 1499:2013 และระยะเวลาสัมผัสที่ 60 วินาที
- การทดสอบกับสารอ้างอิงสำหรับประเภทแอลกอฮอลเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ (propan-2-ol 60% v/v) ให้ใช้ปริมาณตามที่ระบุใน EN 1500:2013 และระยะเวลาสัมผัส 60 วินาที
- แนวทางการพิจารณาผลการทดสอบประสิทธิภาพ
- ประเภททำความสะอาดผิวหนังเมื่อเปรียบเทียบกับสบู่อ้างอิงและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติตามที่กำหนดใน EN 1499:2013 มีประสิทธิภาพดีกว่าที่ค่าระดับนัยสำคัญ (level of significance) p-value = 0.01
- ประเภทแอลกอฮอลเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือเมื่อเปรียบเทียบกับสารอ้างอิง (propan-2-ol 60% v/v) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติตามที่กำหนดใน EN 1500:2013 แล้ว สามารถลดปริมาณแบคทีเรีย Escherichia coli K12 NCTC 10538 ได้ดีกว่าสารอ้างอิงโดยมีค่า margin of inferiority ไม่เกิน 0.6 log units
1.3 วิธีตามมาตรฐานสากลอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
- วิธีทดสอบให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานนั้นๆ
- แนวทางการพิจารณาการทดสอบประสิทธิภาพให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานนั้นๆ
2. การทดสอบกลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังที่ใช้แล้วล้างออก ให้ใช้วิธีทดสอบตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังนี้
2.1 กลุ่ม Handwash ให้ใช้วิธีทดสอบตามข้อ 1.1 หรือ 1.2 หรือ 1.3
2.2 กลุ่ม Bodywash ให้ใช้วิธีทดสอบตามข้อ 1.1
3. การทดสอบประสิทธิภาพให้ทดสอบโดยหน่วยงานของรัฐ หรือห้องปฏิบัติที่ได้รับการรับรองตาม ISO/IEC 17025 สำหรับการทดสอบตามข้อ 1.1 และ 1.2 ทั้งนี้ ตามข้อ 1.3 ให้ทดสอบโดยวิธีผ่านการยอมรับจากหน่วยงานของรัฐ
ผู้ประกอบการ ที่กำลัง สร้าแบรนด์สกินเคร์ ท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ที่อัพเดตนี้หรือท่านใดสนใจสร้างแบรนด์สกินแคร์ หรือผลิตสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอางประเภททำความสะอาดผิวหนังที่ใช้แล้วล้างออก, เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ หรือสร้างแบรนด์ครีม สร้างแบรนด์เครื่องสำอางประเภทอื่น ท่านสามารถติดต่อสอบถามพรีมา แคร์ โรงงานรับผลิตครีม เวชสำอาง เครื่องสำอาง อาหารเสริมตามมาตรฐานGMP เรารับให้คำปรึกษาทุกช่องทางเลยนะคะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อยากปรึกษาสร้างแบรนด์ ทำแบรนด์ ปรึกษา พรีมา แคร์ ได้ที่ Line OA @premacare หรือสแกนได้เลยนะคะ
ช่องทาง SOCIAL MEDIA สำหรับ PREMA CARE
เพื่อรับคำปรึกษาสร้างแบรนด์ทำแบรนด์