รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน GHPs - premacare

มาตรฐาน GHPs คืออะไร มีกี่ประเภท ต่างจากมาตรฐาน HACCP อย่างไร?

มาตรฐาน GHPs คือ ระบบการจัดการความปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ สำหรับโรงงานผลิตอาหารหรือผู้ประกอบการนำมาใช้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

มาตรฐาน GHPs หลายคนที่ทำธุรกิจต้องเคยคุ้นกับคำนี้มาอยู่บ้าง แต่สำหรับคนที่กำลังเริ่มทำธุรกิจใหม่ ๆ เชื่อว่าต้องมีความสงสัยกันอยู่บ้างว่า มาตรฐาน GHPs คืออะไร เนื่องจากการทำธุรกิจแต่ละอย่างจำเป็นต้องได้รับการันตีว่าผลิตภัณฑ์ของเราปลอดภัยต่อผู้บริโภค แสดงว่า GHPs สำคัญกับธุรกิจเป็นอย่างมาก แล้วการจะได้ระบบมาตรฐานตัวนี้มาต้องทำอะไรบ้าง มีกฎเกณฑ์อะไรที่เราต้องเตรียมพร้อมบ้าง มาทำความรู้จักกับมาตรฐาน GHPs คืออะไรกัน

มาตรฐาน GHPs คืออะไร?

มาตรฐาน GHPs คือ Good Hygiene Practice(s) เป็นระบบมาตรฐาน และเครื่องหมายเพื่อแสดงถึงระบบการจัดการความปลอดภัยขั้นพื้นฐานสำหรับโรงงานผลิตอาหารหรือผู้ประกอบการที่นำมาใช้ในการผลิต หรือการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัยต่อการบริโภค  ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายขององค์กรอนามัยโลก  และความปลอดภัยกับผู้บริโภค ซึ่งจะครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ​​“Food Chain” หรือ “ห่วงโซ่อาหาร” ตั้งแต่การปลูกการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ การเก็บเกี่ยว การจัดเก็บ การขนส่ง การแปรรูป ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ จนถึงผู้บริโภค ดังนั้นหากแบรนด์ที่มีเครื่องหมาย GHPs จะทำให้ผู้บริโภครู้ว่าบริษัทหรือแบรนด์มีการผลิตที่มีปลอดภัยในทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เช่น โรงงานผลิตอาหารเสริม 

ในปัจจุบันคณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศของโครงการมาตรฐานอาหาร (Codex Alimentarius Commission, Joint FAO/WHO Food Standards Programme) ได้จัดทำเอกสารฉบับใหม่ คือ General ENERAL Principles of Food Hygiene : Good Hygiene Principles (GHPs) and The Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) Systems  (หรือ GHPs/HACCP Rev.2020) ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 เพื่อใช้แทนฉบับเดิม คือ Recommended International Code of Practice General Principles of Food Hygiene, 2003 (หรือ GMP/HACCP Rev.2003)

มาตรฐาน GHPs มีข้อกำหนดกี่ข้อ อะไรบ้าง?

ปัจจุบันมาตรฐาน GHPs หรือ (Good Hygiene Practices) คือหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยกับผู้บริโภค แบ่งเป็น 9 ข้อกำหนดด้วยกันดังนี้

ข้อกำหนดที่ 1 : บทนำและการควบคุมอันตรายที่มีต่ออาหาร

  • การควบคุมคุณภาพน้ำ (Control of Water Quality) 
  • การควบคุมการปนเปื้อนจากสิ่งปฏิกูล (Control of Fecal Contamination)
  • การควบคุมการปฏิบัติงานและสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติต่ออาหาร (Control of Food handler Practices and Hygiene)
  • การควบคุมพื้นผิวสัมผัสอาหารโดยการทำความสะอาด (Control of Food Contact Surfaces by Cleaning)

ข้อกำหนดที่ 2 : การผลิตขั้นต้น (Primary Production)

  • การควบคุมสภาพแวดล้อม โดยการผลิตอาหารนั้นจะไม่ผลิตใกล้กับสถานประกอบการที่ปล่อยสารพิษ หรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ซึ่งส่งผลให้อาหารปนเปื้อนกลิ่นได้
  • การผลิตที่ถูกสุขลักษณะ โดยควบคุมการปนเปื้อนของอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลง หรือจัดการของเสียต่าง ๆ และจัดเก็บสารเคมีอย่างเหมาะสม
  • การดูแลและจัดเก็บ ควรป้องกันการเสื่อมสภาพ เน่าเสีย โดยควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และป้องกันการปนเปื้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจากสัตว์หรือสารเคมี
  • การทำความสะอาดและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ 

ข้อกำหนดที่ 3 : สถานประกอบการ สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์

ทำเลที่ตั้งของสถานประกอบการ

- ไม่ควรตั้งในบริเวณที่ไม่สามารถควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมได้ หรือทำเลที่มีอุตสาหกรรมที่อาจทำให้มีการปนเปื้อนในอาหาร 
- ควรจัดพื้นที่การทำงานให้เป็นสัดส่วน วัสดุภายในอาคารทนทาน และง่ายต่อการทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อ
- ควรจัดให้มีห้องน้ำและสถานที่ล้างมือตามความเหมาะสม

สิ่งอำนวยความสะดวก

- ควรมีระบบกำจัดของเสียอย่างเพียงพอเพื่อลดโอกาสการปนเปื้อน
- จัดให้มีอุปกรณ์ในการทำความสะอาดที่เพียงพอ และแยกอ่างสำหรับล้างมือล้างอาหารหรือเครื่องใช้
- มีการควบคุมอุณหภูมิเพื่อความปลอดภัย และมีความเหมาะสมสำหรับอาหารแต่ละประเภท
- ควรมีการระบายอากาศเพื่อลดการปนเปื้อนจากอากาศ และควบคุมกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างสม่ำเสมอ
- พื้นที่การผลิตควรมีแสงสว่างที่เพียงพอเพื่อตรวจหาข้อบกพร่องของอาหารได้
- การเก็บรักษาหลีกเลี่ยงการเข้าถึงจากสัตว์พาหะนำเชื้อ

อุปกรณ์ สะอาด และมีการสอบเทียบเครื่องมืออย่างเหมาะสมเป็นประจำ

ข้อกำหนดที่ 4 : การฝึกอบรมและความสามารถของบุคลากร

ในข้อกำหนดที่ 4 ของ GHPs คือ มีการจัดฝึกอบรมบุคลากรเป็นระยะ ๆ และทวนสอบเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยและความเหมาะสมของอาหาร

ข้อกำหนดที่ 5 : การบำรุงรักษา การทำความสะอาด ฆ่าเชื้อของสถานประกอบการ และการควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ

การบำรุงรักษาสถานประกอบการ เพื่อความสะอาดปราศจากการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะนำเชื้อ และสารเคมี โดยจัดวิธีการทำความสะอาดให้เหมาะสม พร้อมเฝ้าระวังประสิทธิภาพการปฏิบัติตามขั้นตอนทำความสะอาดและทวนสอบเป็นระยะ

ข้อกำหนดที่ 6 : สุขลักษณะในส่วนของบุคลากร

- บุคลากรควรแต่งกายให้เรียบร้อย สวมชุดป้องกัน คลุมศีรษะ สวมรองเท้า และสวมถุงมือไม่สวมใส่เครื่องประดับต่าง ๆ 
- กรณีเจ็บป่วยมีไข้ ไอ จาม มีแผลติดเชื้อที่เห็นชัดเจนหรือมีสารคัดหลั่งอย่าง น้ำมูก ให้รีบแจ้งหัวหน้างานและแยกออกไปยังบริเวณที่ไม่มีการสัมผัสอาหารโดยตรง
- กรณีผู้เยี่ยมชมโรงงาน ควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขลักษณะของโรงงานก่อนเข้าเยี่ยมชม

ข้อกำหนดที่ 7 : การควบคุมการปฏิบัติงาน

ควบคุมตั้งแต่ต้นกระบวนการของมาตรฐาน GHps คือ รับวัตถุดิบ ระหว่างกระบวนการ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตลอดจนเอกสาร และข้อมูลที่บันทึกการผลิต

ข้อกำหนดที่ 8 : ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภค

ผู้บริโภคสามารถระบุสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในอาหาร และบ่งชี้รุ่น หรือ ครั้งที่ผลิตได้ 

ข้อกำหนดที่ 9 : การขนส่ง

ในระหว่างการขนส่ง ควรดำเนินมาตรการตามที่จำเป็นเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม ป้องกันความเสียหายระหว่างขนส่ง จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ป้องกันการเกิดเชื้อจุลินทรีย์ หรืออาหารเสื่อมสภาพโดยอาจจะควบคุมอุณหภูมิและความชื้น

มาตรฐาน GHPs กับ มาตรฐาน HACCP ต่างกันอย่างไร?

มาตรฐาน GHPs คือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย

HACCP (Hazard Analysis and Critical Point System) คือ ระบบวิเคราะห์อันตรายอาหารและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการชี้เฉพาะเจาะจง ประเมิน และควบคุมอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์อาหาร ระบบนี้ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางจากนานาประเทศถึงประสิทธิภาพ การประกันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้บริโภค

มาตรฐาน HACCP ควบคุม

  • วิเคราะห์อันตราย
  • หาจุดวิกฤต
  • กำหนดค่าวิกฤต
  • กำหนดระบบในการติดตามเพื่อควบคุมจุดวิกฤต
  • กำหนดวิธีการแก้ไข เมื่อจุดวิกฤตไม่อยู่ภายใต้การควบคุม
  • กำหนดวิธีการทวนสอบเพื่อให้เป็นไปตามระบบ HACCP
  • กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารให้เป็นไปตามหลักการของ HACCP 

สรุปเรื่องมาตรฐาน GHPs

มาตรฐาน GHPs คือ เครื่องหมายที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ผลิตเพื่อให้ผู้บริโภคของเรารู้ว่า เรามีขั้นตอนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ไร้สารเคมี หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ จะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจกับผลิตภัณฑ์ของคุณมากขึ้นอย่างมาก ดังนั้น นักธุรกิจมือใหม่ที่กำลังเริ่มทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทไหนก็ตามคงจะเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมาตรฐาน GHPs มากขึ้นว่ามีความสำคัญมากขนาดไหน และการมีเครื่องหมายนี้จะเป็นผลดีให้กับธุรกิจของคุณได้ แต่แนะนำว่าเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ปลอดภัยที่สุดควรใช้ควบคู่กับมาตรฐาน HACCP ด้วย 

 


โปรโมชั่นแนะนำ

บอกหมดเปลือก 10 step สร้างแบรนด์ครีมเครื่องสำอางเวชสำอาง

อัปเดต 10 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ครีม ทำแบรนด์ครีม ผลิตครีมแบรนด์ตัวเอง เครื่องสำอาง สกินแคร์ของตัวเอง โดยพรีมา แคร์ โรงงานรับผลิตได้มาตรฐาน...

8 วิธีกินรับประทานคอลลาเจนผงชงดื่ม กินยังไงตอนไหนให้ได้ผลสูงสุด ดีที่สุด

อยากกินคอลลาเจนผงชงดื่มให้ได้ผลดีที่สุด ต้องกินยังไง? พรีมา แคร์ มีคำตอบ! อธิบายแบบเข้าใจง่าย ครบทุกขั้นตอน กับ 8 วิธีกินคอลลาเจนผงชงดื่มให้ได้ผลสูงสุด...

เทคนิคตั้งชื่อแบรนด์ สร้างแบรนด์ครีมอาหารเสริมให้ปัง

สร้างทำแบรนด์ครีม เวชสำอาง เครื่องสำอาง อาหารเสริม การตั้งชื่อแบรนด์สินค้าเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ รวบรวมเทคนิคตั้งชื่อแบรนด์ให้โดนใจ จดจำง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่...

10 ข้อที่ควรรู้ เรื่องอันตรายจากยาลดความอ้วน

อยากลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย? รู้ไว้ก่อนใช้ยาลดความอ้วน อันตรายกว่าที่คิด เพราะมีสารอันตรายในยาลดความอ้วน มีโทษมากมาย ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย...


ผลิตภัณฑ์แนะนำ

CUV 66 พี.ซี. ฟิสิคัล ซันสกรีน บรอดสเปรกตรัม เอสพีเอฟ 50+ พีเอ+++

ครีมกันแดดปราศจากสารกันแดดกลุ่มเคมี(Non-Chemical Sunscreen) สูตร paraben free ปราศจากน้ำหอม

CSL 38 พี.ซี. เจจู ฟลอเลส สกิน เซรั่ม

เจจู ซากุระ เซรั่ม ด้วยสารสกัดจากประเทศเกาหลี - บริษัทพรีมา แคร์ โรงงานรับผลิตครีม เจล เซรั่ม เครื่องสำอาง เวชสำอาง อาหารเสริม...

B-FMP 15 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วาย.โอ.เอ็น.

มิกซ์เบอร์รี ผงบุกสกัด สารสกัดจากแอปเปิ้ล ผงไซเลี่ยมฮัสก์ สารสกัดจากอะเซอโรลา เชอร์รี อินูลิน

ช่องทางติดต่อสร้างแบรนด์ทำแบรนด์กับ PREMA CARE ผ่านสื่อ Social Media

ติดตาม Fanpage Premacare ได้ที่นี่

Follow us!

ติดตาม Fanpage Premacare ได้ที่นี่

Follow us!

ติดตาม Fanpage Premacare ได้ที่นี่

Follow us!

ติดตาม TikTok Premacare ได้ที่นี่

Follow us!

เข้ามาติดต่อ Premacare ได้ที่นี่

Follow us!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดการสร้างทำแบรนด์กับเรา

สถานที่ตั้ง

ส่วนโรงงาน

55/5 ม.7 ต.ลำโพ อ.บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110

ส่วนสำนักงาน (ออฟฟิศ) รับรองลูกค้า

111/888 ม.5 ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130

อีเมล

info@premacare.co.th

โทร

0808-108-109, 02-886-3957