อยากเป็นเจ้าของธุรกิจอาหารเสริม ทำแบรนด์อาหารเสริม มาสำรวจตลาดอาหารเสริม ส่องโอกาสการเติบโต เทรนด์อาหารเสริม เนื่องจากการก้าวผ่านสถานการณ์แพร่กระจายของโควิดที่ผ่านมา ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อโอกาสสำหรับเจ้าของธุรกิจอย่างไรบ้าง กลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้คือใครได้บ้าง มีศักยภาพในการเติบโตมากน้อยแค่ไหน วันนี้ พรีมา แคร์ ได้นำข้อมูลการสำรวจตลาดอาหารเสริม จาก Kantar บริษัทวิจัยการตลาด มาฝากค่ะ
กว่า 2 ทศวรรษที่ Kantar สำรวจตลาดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงาม (Health & Beauty Supplement) และพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทย ปัจจุบันตลาดกลุ่มนี้ได้แบ่งกลุ่มของแบรนด์ รูปแบบ และหมวดหมู่ออกมาได้หลากหลายมากขึ้น ขณะที่ใช้ต้นทุนในการลงทุนน้อย และการออกใบอนุญาติประกอบกิจการที่ไม่ซับซ้อน ช่วยสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้กับแบรนด์หน้าใหม่ในการเข้ามาในตลาดและการขยายธุรกิจของเจ้าตลาดเดิม ตลาดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงามได้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งในหลายมิติ ทั้งมูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้น คนซื้อที่มากขึ้น และคู่แข่งที่มากขึ้นด้วย
จากรายงาน Kantar: Health is Wealth: Thailand’s Supplement Market in 2023 ได้วิเคราะห์ว่า สังคมผู้สูงอายุ ทำให้เทรนด์ดูแลสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งการระบาดของโควิดที่ทำให้ผู้บริโภคในไทยเริ่มหันมาสนใจจับจ่ายอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ และยังคงจะเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังการแพร่ระบาด
หลังจากการล็อกดาวน์ทุกอย่างเริ่มกลับมาเป็นปกติ ผู้คนเริ่มออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปออกกำลังกาย การกลับเข้าออฟฟิศ หรือการทำกิจกรรมนอกบ้านเพิ่มขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการด้านสรรพคุณของสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับประโยชน์ด้านสุขภาพเป็นอันดับแรก โดยให้ความสนใจเลือกซื้อสินค้าที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน (Immunity) และสุขภาพแบบองค์รวม (General Wellbeing) ในขณะที่ความต้องการสรรพคุณในด้านดูแลผิวพรรณมีความสำคัญรองลงมา และหันมาสนใจอาหารเสริมโปรตีน(Protein) และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก (Body Care) แทน
กลุ่มผู้บริโภคในตลาดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงาม
เมื่อดูข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในตลาดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงาม จะสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ดังนี้
ระดับภูมิภาค - ตลาดที่มีมูลค่ามากที่สุด 1 ใน 3 หรือ 33% มาจากผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี ขณะที่ในภาคเหนือของไทยมีการเติบโตช้าลง ส่วนภาคใต้ใช้เงินไปกับสินค้าอาหารเสริมน้อยที่สุดและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี
ประเภทของครัวเรือน - ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในตลาดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นครัวเรือนที่มีลักษณะไม่มีเด็กเล็ก (อายุน้อยสุด 13 ปี)
ระดับรายได้ – ครอบคลุมทุกระดับรายได้ในเขตเมืองของประเทศไทย
กลุ่มช่วงอายุ - กลุ่มผู้บริโภคหลักสำหรับตลาดนี้คืออายุ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มที่มีศักยภาพที่มีแนวโน้มเติบโตสูงคือ กลุ่ม 50 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 60 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ความต้องการของผู้บริโภคในคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
รายงานจาก Kantar สามารถแบ่งหมวดหมู่คุณประโยชน์ของสินค้าอาหารเสริมตามสัดส่วนในตลาดได้ดังนี้
- อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบบองค์รวม (General Wellbeing) มีสัดส่วนทางการตลาดอยู่ที่ 29% เช่น สารสกัดจากโสม วิตามินรวม สารสกัดจากพืช สารสกัดจากสัตว์ วิตามินซีและวิตามินบี
- อาหารเสริมดูแลผิวพรรณ (Skin) ครองสัดส่วนในตลาดมาเป็นอันดับที่ 2 อยู่ที่ 21% เช่น สารสกัดจากพืช คอลลาเจน และ แอล-กลูต้าไทโอน
- อาหารเสริมโปรตีน (Protein) มีสัดส่วนในตลาดอยู่ที่ 19 % เช่น โปรตีนและเวย์
- เสริมภูมิคุ้มกัน (Immunity) มีสัดส่วนในตลาดอยู่ 8% เช่น วิตามินซี ซิงค์ และสารสกัดจากพืช
- เพื่อควบคุมน้ำหนัก (Body care) สัดส่วนทางการตลาด 7% เช่น สารสกัดจากพืช วิตามินรวม ไฟเบอร์
- บำรุงสายตา (Eye) สัดส่วนทางการตลาด 6% เช่น วิตามินรวม สารสกัดจากพืช
- อาหารเสริมบำรุงกระดูกและข้อ (Bone & Joint Care) สัดส่วนทางการตลาด 4% เช่น แคลเซียม
- อาหารเสริมบำรุงสมอง (Brain / Energy / Stress) 4% เช่น ส่วนผสมจากโสม วิตามินรวม สารสกัดจากพืช เปปไทด์จากถั่วเหลือง และวิตามินบี
- อื่นๆ (Other) 2 % เช่น สารสกัดจากพืช
เมื่อพิจารณาจากส่วนแบ่งทางการตลาดในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแต่ละประเภท จะเห็นได้ว่า อาหารเสริมประเภทสุขภาพแบบองค์รวม (General Wellbeing) และประเภทเสริมภูมิคุ้มกัน (Immunity) เป็นคุณสมบัติที่ผู้บริโภคในไทยต้องการเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดี อาหารเสริมโปรตีน (Protein) และอาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนัก (Body care) มีสัดส่วนความสำคัญที่เติบโตขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ขณะที่อาหารเสริมเพื่อผิวพรรณและบำรุงสายตามีสัดส่วนลดน้อยลง
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีน (Protein) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทควบคุมน้ำหนัก(Body care) หลังจากการล็อกดาวน์โควิดได้สิ้นสุดลง ทำให้ผู้คนเริ่มออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้อีกครั้ง การออกไปทำงาน เข้ายิมออกกำลังกาย ทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีน (Protein) และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทควบคุมน้ำหนัก (Body care) จึงได้ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อผิวพรรณ
แม้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดจะลดลง แต่ถึงอย่างนั้นอาหารเสริมเพื่อผิวพรรณก็ยังคงได้รับความนิยมเป็นอันดับสองในตลาด เนื่องจากสินค้ามักมาในรูปแบบซองขนาดเล็ก พกพาง่าย ราคาเข้าถึงได้ง่าย และสะดวกในการบริโภค - ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสุขภาพแบบองค์รวม (General Wellbeing) และประเภทเสริมภูมิคุ้มกัน (Immunity)
ปัจจุบันผู้บริโภคคนไทยได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่กระจายของโควิดที่ผ่านมา จึงทำให้อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบบองค์รวม(General Wellbeing) และประเภทเสริมภูมิคุ้มกัน (Immunity) ยังคงเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคมักนึกถึงเมื่อมีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร - ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงสายตา
อาหารเสริมบำรุงสายตา คือสิ่งที่ถูกมองหาอย่างมากเมื่อผู้บริโภคต้องทำงานที่บ้านในช่วงล็อคดาวน์ แต่ความสนใจกลับน้อยลงเมื่อผู้คนเริ่มกลับไปทำงานที่ออฟฟิศตามปกติ
ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า คนไทยยังคงตระหนักถึงสุขภาพ หลังการแพร่ระบาดและยังคงมีความต้องการซื้ออาหารเสริม แต่เปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการทานให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันแทนเมื่อกลับเข้าสู่ชีวิตปกติ
สัดส่วนทางการตลาดของรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
เมื่อสำรวจรูปแบบของสินค้า จะพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบผง ได้รับความนิยมสูงสุด มีความยืดหยุ่นสูงเหมาะกับสินค้าอาหารเสริมแทบทุกประเภท โดยเฉพาะในกลุ่มของอาหารเสริมโปรตีน และมีส่วนแบ่งทางการตลาดโดยรวมสูงที่สุด อีกทั้งยังสามารถดึงดูดผู้บริโภคใหม่ๆ ให้กับแบรนด์และสินค้าได้ง่าย เนื่องจากมักจำหน่ายในรูปแบบซอง พกพาง่าย ราคาเข้าถึงง่าย ส่วนกลุ่มอาหารเสริมแบบวิตามินและเสริมภูมิคุ้มกันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบเม็ดหรือแบบแคปซูลยังคงเป็นรูปแบบหลักของกลุ่มนี้ ซึ่งมีลักษณะที่สะดวกในการบริโภค จัดเก็บและพกพาง่าย ส่วนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบน้ำยังคงทำได้ไม่ค่อยดีในไทย เนื่องจากมีอายุการเก็บรักษาค่อนข้างสั้น ยากที่จะจัดเก็บ และยากที่จะพกพาและบริโภคนอกบ้าน
อ้างอิง Kantar: Health is Wealth: Thailand’s Supplement Market in 2023 : https://kantar.turtl.co/story/health-is-wealth-thailands-supplement-market-in-2023-p
อัปเดต 10 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ครีม ทำแบรนด์ครีม ผลิตครีมแบรนด์ตัวเอง เครื่องสำอาง สกินแคร์ของตัวเอง โดยพรีมา แคร์ โรงงานรับผลิตได้มาตรฐาน
อยากกินคอลลาเจนผงชงดื่มให้ได้ผลดีที่สุด ต้องกินยังไง? พรีมา แคร์ มีคำตอบ! อธิบายแบบเข้าใจง่าย ครบทุกขั้นตอน กับ 8 วิธีกินคอลลาเจนผงชงดื่มให้ได้ผลสูงสุด
สร้างทำแบรนด์ครีม เวชสำอาง เครื่องสำอาง อาหารเสริม การตั้งชื่อแบรนด์สินค้าเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ รวบรวมเทคนิคตั้งชื่อแบรนด์ให้โดนใจ จดจำง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่
อยากลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย? รู้ไว้ก่อนใช้ยาลดความอ้วน อันตรายกว่าที่คิด เพราะมีสารอันตรายในยาลดความอ้วน มีโทษมากมาย ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
รับรองคุณภาพตามมาตรฐานโรงงาน
แลปผลิต ครีม อาหารเสริม
- 9th SME National Award - รางวัลระดับสุดยอด SME
- 10th SME National Award - รางวัลระดับสุดยอด SME
- รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น(ขนาดกลางและขนาดย่อม) ประเภทการบริหารจัดการ ปี พ.ศ. 2561
- รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น(ขนาดกลางและขนาดย่อม) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2561
- สุดยอด SME ประจำจังหวัดนนทบุรี SME Provincial Champion 2018
- The Social Security Officer SSO Prize 2020